โครงสร้างรูปแบบธงปลายแหลมขาขึ้น
3. สามเหลี่ยมหน้าจั่วขาขึ้นและขาลง
จิตวิทยาของมนุษย์ล้วนเกี่ยวกับรูปแบบ รูปแบบกำหนดพฤติกรรมและช่วยให้เราปฏิบัติตามกฎ หลักการเดียวกันยังใช้กับตลาด Forex ซึ่งมีรูปแบบที่ทำให้เราพยากรณ์ราคาในอนาคตได้อย่างถูกต้อง เรามาดู 10 รูปแบบกราฟที่ควรทราบเพื่อเตรียมพร้อมเทรด การทำความเข้าใจรูปแบบกราฟเหล่านี้เพิ่มศักยภาพการทำกำไรในเส้นทางการเทรดของคุณได้อย่างมีนัยสำคัญ
รูปแบบกราฟทำหน้าที่เป็นเบาะแสและสัญญาณแบบกราฟิก ซึ่งช่วยให้นักเทรดกำหนดเวลาซื้อหรือขายที่ดีที่สุด พูดง่าย ๆ คือหาจุดเข้าและจุดออกจากการเทรด การค้นพบรูปแบบกราฟมีส่วนช่วยในการวิเคราะห์ทางเทคนิคและพัฒนากลยุทธ์การเทรดอย่างมาก เรามาสำรวจรูปแบบกราฟหลัก ๆ กัน ธงปลายแหลม (Pennant) เป็นรูปแบบกราฟยอดนิยม เป็นได้ทั้งขาขึ้นและขาลง และเช่นเดียวกับรูปแบบธง ธงปลายแหลมขาขึ้นและขาลงต่างเป็นรูปแบบกราฟที่บอกความต่อเนื่องของแนวโน้มเดิม แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มปัจจุบันจะดำเนินต่อหลังจากเปลี่ยนทิศทางเล็กน้อย รูปแบบธงปลายแหลมขาขึ้นบนกราฟมีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปแบบธง อย่างไรก็ตาม รูปแบบธงปลายแหลมดูคล้ายรูปแบบสามเหลี่ยมกว่ารูปแบบกราฟที่พบบ่อย
1. ธงปลายแหลม
โครงสร้างรูปแบบธงปลายแหลมขาขึ้น
1. ราคาทะลุรูปแบบธงปลายแหลมขาขึ้น แสดงความต่อเนื่องของแนวโน้มเดิม
2. เสาธง
โครงสร้างรูปแบบธงปลายแหลมขาลง
รูปแบบธงปลายแหลมขาลงเป็นรูปแบบกราฟที่บอกความต่อเนื่องของแนวโน้มขาลง ดูคล้ายรูปแบบธงขาลง แต่รูปร่างจะคล้ายกับรูปแบบสามเหลี่ยมมากกว่ารูปแบบธง
1. ราคาทะลุรูปแบบธงปลายแหลมขาลง แสดงความต่อเนื่องของแนวโน้มขาลง
2. เสาธง
รูปแบบธงปลายแหลมขาขึ้นแสดงในกราฟด้านล่าง
1. การทะลุของราคา
2. Cup and Handle
รูปแบบกราฟที่ดูเข้าใจง่ายเมื่อคุณดูกราฟ ซึ่งดูคล้ายกับแก้วพร้อมหูจับ โดยแก้วจะเป็นรูปตัว "U" ส่วนหูจับจะลดต่ำลงมาเล็กน้อย ซึ่งเป็นบริเวณที่คุณทราบว่าแนวโน้มจะกลับเป็นขาขึ้น
ทำเครื่องดื่มแก้วโปรดและดื่มรอการเพิ่มขึ้นของราคา
1. แก้ว
2. หูจับ
3. การทะลุของราคา
3. สามเหลี่ยมหน้าจั่วขาขึ้นและขาลง
สามเหลี่ยมหน้าจั่ว (Symmetrical Triangle) เป็นหนึ่งในรูปแบบกราฟพื้นฐานที่ผู้เริ่มต้นและนักเทรดมากประสบการณ์ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งบ่งบอกช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนในตลาด รูปแบบกราฟนี้จะปรากฏเมื่อราคาอยู่ในกรอบราคาแคบ ๆ โดยมีจุดสูงสุดใหม่ที่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิมและจุดต่ำสุดใหม่ที่สูงกว่าจุดต่ำสุดเดิม กรอบราคาที่แคบขึ้นเรื่อย ๆ บอกเป็นนัยถึงดุลยภาพชั่วคราวระหว่างแรงซื้อและแรงขาย ถึงแม้รูปแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่วไม่ได้บอกทิศทางการทะลุของราคา นักเทรดมักมองแนวโน้มก่อนหน้าเพื่อหาเบาะแสเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้น
สามเหลี่ยมหน้าจั่วขาขึ้น
รูปแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่วขาขึ้นมักปรากฏในระหว่างแนวโน้มขาขึ้น แม้ว่ารูปแบบกราฟนี้สะท้อนความลังเลของตลาด แต่มักบอกเป็นนัยถึงความเป็นไปได้ที่แนวโน้มยังคงเป็นแนวโน้มขาขึ้น หากราคาทะลุสามเหลี่ยมหน้าจั่วเป็นขาขึ้น
สามเหลี่ยมหน้าจั่วขาลง
รูปแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่วขาลงมักปรากฏในระหว่างแนวโน้มขาลง แม้จะเกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดไม่แน่นอน การทะลุของราคาเป็นขาลงเป็นสัญญาณความเป็นไปได้ที่แนวโน้มยังคงเป็นแนวโน้มขาลง
ตัวอย่างกราฟที่มีรูปแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่วขาขึ้นและขาลง
1. การทะลุของราคา
1. การทะลุของราคา
4. Rounding Bottom
"ราคาจะย้อนกลับมาแนวโน้มเดิม" และรูปแบบ Rounding Bottom แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ในรูปแบบกราฟนี้ ราคาจะค่อย ๆ ลดลง แล้วเพิ่มขึ้นช้า ๆ ทำให้เกิดรูปร่างถ้วยทรงกลมเรียบ (ไม่มีหูจับเหมือนรูปแบบ Cup and Handle!) รูปแบบ Rounding Bottom เป็นรูปแบบกราฟที่เปลี่ยนแนวโน้มระยะยาว มักเห็นได้ในช่วงหลายเดือนหรือปี และเป็นเครื่องมือทรงพลังในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ตลาดจากขาลงเป็นขาขึ้น
1. แนวโน้มขาลง
2. การทะลุของราคาและการกลับทิศทางของแนวโน้ม
5. ธงขาขึ้นและขาลง
รูปแบบธงมีลักษณะคล้ายกับธงบนเสา โดยทั่วไปแล้ว รูปแบบธงขาขึ้นมีลักษณะดังต่อไปนี้
- เสาธง การเคลื่อนไหวขาขึ้นรวดเร็วรุนแรง ทำให้เกิดจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่าจุดสูงสุดเดิม (HH) และจุดต่ำสุดใหม่ที่สูงกว่าจุดต่ำสุดเดิม (HL)
- ธง กรอบราคาลาดลงหรือแนวราบที่ประกอบด้วยแท่งเทียนต่าง ๆ ที่มีจุดสูงสุดใหม่ที่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม (LH) และจุดต่ำสุดใหม่ที่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดเดิม (LL) ระหว่างเส้นแนวรับและแนวต้านที่ขนานกัน
- การทะลุของราคา ตามหลักการแล้ว ราคาทะลุแนวต้านเป็นขาขึ้นต่อตามเดิม
ในทำนองเดียวกัน รูปแบบธงเชิงลบปรากฏหลังจากการเคลื่อนไหวเป็นขาลงอย่างรวดเร็ว (เสาธง) ตามด้วยกรอบราคาเอียงขึ้นหรือแนวราบ ก่อนจะทะลุแนวรับเป็นขาลงต่อไป
กราฟที่มีรูปแบบธงขาลงด้านล่าง
1. เสาธง
2. ธง
3. การทะลุของราคายืนยันความต่อเนื่องของแนวโน้มขาลง
1. การทะลุของราคา
6. สามเหลี่ยมมุมฉากหัวตั้ง
สามเหลี่ยมุมฉากหัวตั้ง (Descending Triangle) เป็นรูปแบบกราฟขาลงที่บ่งบอกการเคลื่อนไหวขาลงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งประกอบด้วยเส้นแนวรับราบด้านล่างและเส้นแนวต้านเอียงลงด้านบน เพราะผู้ขายค่อย ๆ ดันราคาลดลง หากราคาทะลุแนวรับ มักยืนยันรูปแบบกราฟและบอกเป็นนัยว่าราคาอาจลดลงเพิ่มเติมได้
1. เส้นแนวรับราบ
2. เส้นแนวต้านทำมุม
7. ลิ่ม
ลิ่ม (Wedge) เป็นรูปแบบกราฟที่เกิดจากเส้นเอียงสองเส้นบรรจบกัน ซึ่งอาจเอียงขึ้น (ลิ่มขาขึ้น) หรือเอียงลง (ลิ่มขาลง) และราคาเคลื่อนไหวภายในกรอบแคบ ๆ นั้น รูปแบบลิ่มมักถือว่ารูปแบบกราฟกลับทิศทาง หมายถึงราคามักทะลุในทิศทางตรงข้ามกับทิศทางการเอียงของลิ่ม
- ลิ่มขาลง มักบอกถึงการทะลุของราคาเป็นขาขึ้นที่อาจเกิดขึ้น
- ลิ่มขาขึ้น มักบอกถึงการทะลุของราคาเป็นขาลงที่อาจเกิดขึ้น
1. แนวโน้มขาลง
2. จุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่าจุดสูงสุดเดิม
3. จุดต่ำสุดใหม่ที่สูงกว่าจุดต่ำสุดเดิม
8. Double Bottom
Double Bottom เป็นโครงสร้างตลาดที่แสดงการกลับทิศทางเป็นขาขึ้นที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งบอกว่าแนวโน้มขาลงอาจสิ้นสุดลง และอาจตามมาด้วยการเคลื่อนไหวเป็นขาขึ้น รูปแบบกราฟนี้มักพบบ่อยในตลาดฟอเร็กซ์ สกุลเงินดิจิทัล หุ้น และสินค้าโภคภัณฑ์ และใช้โดยนักเทรดรายวันและนักเทรดแบบสวิง รูปแบบ Double Bottom มีลักษณะคล้ายกับอักษร 'W' ซึ่งปรากฏขึ้นเมื่อราคาทดสอบระดับแนวรับสองครั้ง แต่ไม่ทะลุระดับดังกล่าวก่อนจะเคลื่อนไหวเป็นขาขึ้น
1. เป้าหมาย
9. Double Top
Double Top เป็นโครงสร้างตลาดที่แสดงการกลับทิศทางเป็นขาลงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งปรากฏเมื่อราคาพยายามทะลุระดับแนวต้าน แต่ล้มเหลวทั้งสองครั้ง บอกเป็นนัยว่าแรงขายกำลังเกิดขึ้น หลังจากจุดสูงสุดครั้งที่สอง ราคามักเริ่มลดลง รูปแบบ Double Top มีลักษณะคล้ายกับอักษร 'M' ในกราฟ
1. จุดสูงสุดแรก
2. จุดสูงสุดที่สอง
3. เส้นคอ
4. การทะลุของราคา
10. Head and Shoulders
รูปแบบ Head and Shoulders เป็นสัญญาณกลับทิศทางเป็นขาลงแบบคลาสสิก ซึ่งประกอบด้วยจุดสูงสุด 3 จุด ได้แก่ จุดสูงสุดกลาง (หัว) ที่สูงกว่าจุดสูงสุดซ้ายขวา (ไหล่) รูปแบบกราฟนี้มักปรากฏหลังแนวโน้มขาขึ้นและบอกเป็นนัยว่าโมเมนตัมซื้ออ่อนแรงลง เมื่อราคาทะลุเส้นคอ (ระดับแนวรับที่ลากระหว่าง 2 จุดต่ำสุด) เป็นสัญญาณการกลับทิศทางจากขาขึ้นเป็นขาลงที่อาจเกิดขึ้น
1. ไหล่
2. หัว
3. ไหล่
ข้อสรุป